
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บทบัญญัติมาตรา 257ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550กําหนดให้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบและรายงานการกระทําหรือการละเลยการกระทําอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทําหรือละเลยการกระทําดังกล่าว เพื่อดําเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดําเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดําเนินการต่อไป
2. เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
3. เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่ากฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
4. ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
5. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
6. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
7. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
8. จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
9. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และหลักสิทธิมนุษยชน ไว้ดังนี้
1) ศักดิศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคของบุคคล สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
2) จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ)