top of page

บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน

1.   ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

                ศักดิ์ศรีของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน มีการศึกษาหรือไม่มีการศึกษา ไม่ว่าผิวพรรณจะขาวหรือดำ ล้วนเป็นผู้มีศักดิ์ศรี ที่เราเรียกกันว่าศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ความเข้าใจและการนำหลักการแห่งศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์มาใช้ในทางที่ผิด ทำให้เกิดความเดือดร้อน การยกพวกตีกัน สามีภรรยาทะเลาะวิวาทถึงขั้นอย่าร้างกัน ก็ล้วนแต่อ้างต้องรักษาศักดิ์ศรีของตน
             ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์หมายถึง ความมีคุณค่าในตัวตน คุณสมบัติของชีวิตที่มีเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สำหรับผมแล้วเห็นว่าความสามารถที่จะเลือกและตั้งใจเป็นของตนเอง ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีอันสูงส่ง
             เมื่อใดก็ตามเรายอมให้ผู้อื่นมีอิทธิพลเหนือการคิด การเลือก การตัดสินใจ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์จะค่อยๆ จางหายไป ฉะนั้นหัวใจสำคัญเรื่อง “ศักดิ์ศรี” คือทำอย่างไรคนเราจึงจะคิดดี รู้สึกดี พูดดี และทำดี อันเกิดจากการเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
             มีคนไม่น้อยที่เข้าใจผิด เรื่องศักดิ์ศรี เช่น ผู้ชายต้องมีศักดิ์ศรีคือใช้อำนาจบังคับภรรยาได้ ภรรยาแสดงความคิดเห็นแย้งไม่ได้ หรือไม่ก็ฝ่ายหญิงคิดว่าต้องรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นหญิงโดยจะต้องเถียงใน ทุกเรื่อง ถ้าเป็นวัยรุ่นมองหน้ากันหน่อยเดียวก็คิดว่าหมิ่นศักดิ์ศรี ฉะนั้นศักดิ์ศรีในนิยามของเขาคือ ใครมาขัดตา ขัดหู ขัดใจตนไม่ได้ นั่นไม่ใช่เรื่องของศักดิ์ศรีแต่เป็นเรื่องของความหยิ่งที่ยกตัวเองว่าเหนือ กว่าผู้อื่น
            เพื่อที่จะให้เรื่องของศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์มีกรอบที่ถูกต้อง แหล่งที่ดีที่สุดมนุษย์เรียนรู้และรับการหล่อหลอมคือ ที่ครอบครัว เริ่มตั้งแต่พ่อแม่มีความรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อเริ่มรู้ว่าได้เป็นพ่อคนแม่คน เขาภูมิใจในลูกที่กำลังจะเกิดไม่ว่าจะเป็นเพศใด และเมื่อเขาเกิดมาแล้วเขาได้รับการปฏิบัติอย่างดี คือได้รับความอบอุ่น ไม่ถูกกระทำทารุณไม่ว่าด้วยวาจาหรือการกระทำ ไม่ถูกอบรมสั่งสอนในทางที่ผิดแต่สนับสนุนให้เขาเรียนรู้จักการเลือกการ ตัดสินใจด้วยตัวเขาเอง เด็กนั้นจะเติบโตจากแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ เขาจะเติบใหญ่ด้วยอารมณ์ที่เข้มแข็งและจิตใจพร้อมที่จะเผชิญโลกที่เปลี่ยน แปลงได้
             สำหรับคริสเตียนจะให้ความสำคัญการศึกษา เรียนรู้ และปลูกฝังพระคำของพระเจ้าเพราะพระคำช่วยพัฒนาแนวคิดที่ถูกต้องช่วยให้แต่ละ คนสามารถแยกแยะความดีความชั่ว พระคำให้ปัญญาให้รู้ว่าอะไรคือความดีและอะไรเป็นความชั่ว อะไรที่ควรทำและอะไรคือสิ่งละเว้น พระคำให้ปัญญาเลือกทำแต่สิ่งที่ดี จงเลือกทำแต่สิ่งดีๆ หนีจากการชั่วร้ายด้วยการเลือกและมีความตั้งใจด้วยตนเอง นี่แหละศักดิ์ศรีของมนุษย์

 

2.  ความเสมอภาคของบุคคล

              ความหมายตามระบอบประชาธิปไตย หมายถึง  การที่ประชาชนทุกคนในประเทศมีความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันในเรื่องสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน ในที่นี้ สิ่งที่จำเป็น ขั้นพื้นฐานต่อการอยู่รอดและพัฒนาตัวเองตามหลักสิทธิมนุษยชน คือ ปัจจัยสี่ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย การนับถือศาสนา การศึกษาและการรับรู้ข่าวสาร การเข้าถึงบริการสาธารณะและสวัสดิการสังคม การประกอบอาชีพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง และการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย               

 

3.   สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

             มนุษย์มีสิทธิในชีวิตและร่างกาย ห้ามทรมาน ห้ามทารุณกรรม ห้ามจับกุมคุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคลด้วยการทรมาน ทารุณกรรม ถ้ามีการกระทำที่ละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกาย ผู้เสียหายพนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นๆ  มีสิทธิร้องเรียนต่อศาลให้หยุดการกระทำนั้นและต้องเยียวยา ความเสียหาย

 

4.  สิทธิของผู้ต้องหา

              ในสังคมของเรามีทั้งคนดีคนเลยปะปนกันไป เราไม่สามารถแยกแยะออกได้ ว่าคนไหนเป็นคนดี แล้วคนไหนที่เป็นคนเลวโดยเพียงแค่การมองเห็น ซึ่งกรณีคนที่ถูกหาว่าได้ทำความผิดก็เช่นกัน เมื่อเราไม่ได้เห็นกับตาของเราเอง ว่าเขาได้ทำความผิดมา เราก็จะไปสรุปก่อนว่า เขาเป็นคนทำความผิด มันก็คงไม่เป็นธรรมเท่าไหร่ ดังนั้นหากเราต้องการที่จะรู้จริงๆ ว่าเขาได้ทำความผิดมาจริงหรือไม่ เราสามารถทำได้โดยการให้บุคคลนั้นเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ ตามขั้นตอนของกฎหมายก่อน  

          บุคคลที่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมหรือถูกคุมขัง โดยถูกหาว่าได้ไปทำความผิดมานั้น บุคคลเหล่านี้จะต้องเข้าสู่ประบวนการพิสูจน์ความผิดตามกฎหมาย เมื่อคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว ศาลตัดสินว่าผิดจริง บุคคลนั้นก็สมควรที่จะถูกลงโทษ กลับกันหากพิสูจน์ไม่ได้ บุคคลที่ถูกกล่าวหาก็สมควรที่จะถูกปล่อยออกมาให้เป็นอิสระ

          ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการของการพิสูจน์ความผิด บุคคลที่ถูกจับกุม, ผู้ต้องหา หรือบุคคลที่เป็นจำเลยในคดี ก็ควรที่จะมีสิทธิที่จะพิสูจน์ตัวเองด้วยเช่นกันโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบตรงนั้นด้วย และตราบใดที่ศาลยังไม่ตัดสิน กฎหมายก็จะถือว่า บุคคลที่ถูกจับกุม, ผู้ต้องหา หรือบุคคลที่เป็นจำเลยในคดีที่ศาลยังไม่ตัดสิน “เป็นผู้บริสุทธิ์”

          ตามกฎหมายนั้น ผู้ถูกจับ, ผู้ต้องหา, หรือจำเลย มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิสูจน์ มีสิทธิในการที่จะได้รับการปฏิบัติจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยเสมอ ทั้งนี้ผู้ถูกจับ, ผู้ต้องหา, หรือจำเลย มีสิทธิเบื้องต้นที่จะทำดังต่อไปนี้คือ

 

          สิทธิของผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหา ที่ถูกจับหรือขัง

 

            1.มีสิทธิที่จะแจ้ง หรือขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งให้ญาติ ให้เพื่อน หรือคนที่ไว้วางใจทราบถึงเรื่องการถูกจับกุม ทั้งสถาน

              ที่   ที่ถูกควบคุมตัว

            2.มีสิทธิที่จะพบ หรือขอปรึกษาทนายความของตัวเอง เป็นการเฉพาะตัว

            3.มีสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยม หรือในการติดต่อกับญาติตามสมควร

            4.มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ยามเมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา

 

 5.   สิทธิของพยานและผู้เสียหายในคดีอาญา

               พยาน หมายความว่า พยานบุคคลซึ่งจะมาให้หรือได้ให้ข้อเท็จจริง ต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาลในการดำเนินคดีอาญา รวมทั้งผู้ชำนาญการพิเศษ แต่มิให้หมายความรวมถึงจำเลยที่อ้างตนเอง เป็นพยาน

 

สิทธิของพยานในคดีอาญา ตามกฎหมายคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 มีดังนี้

 

1.สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยเมื่อถูกคุกคามในฐานพยานในคดีอาญา รวมถึงผู้ใกล้ชิดของพยานในคดีอาญา

2.สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม

3.สิทธิที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนจากการมาให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานสอบสวนหรือเบิกความต่อศาล

4.สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง ทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการเป็นพยานในคดีอาญา

5.สิทธิที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานในคดีอาญา

 

6.  สิทธิของเด็ก

สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ

 

1. สิทธิในการอยู่รอด (Right of Survival)

              - สิทธิในการมีชีวิตรอดและส่งเสริมชีวิต

              - ได้รับโภชการที่ดี

              - ได้รับความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม

              - ได้รับการบริการด้านสุขภาพ

              - การให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง

              - การให้ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู

2. สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection)

             - การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ

             - การล่วงละเมิด การทำร้าย การกลั่นแกล้งรังแก

             - การถูกทอดทิ้ง ละเลย

             - การลักพาตัว

             - การใช้แรงงานเด็ก

             - ความยุติธรรมต่อผู้เยาว์

              - การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ

3. สิทธิในการพัฒนา (Right of Development)

             - ได้รับการศึกษาทั้งใน/นอกระบบ

             - เข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม

             - เสรีภาพในความคิด มโนธรรม และศาสนา

             - พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและจิตใจ

             - พัฒนาสุขภาพร่างกาย

4. สิทธิในการมีส่วนร่วม (Right of Participation)

             - แสดงทัศนะของเด็ก

             - เสรีภาพในการติดต่อข่าวสารข้อมูล

             - มีบทบาทในชุมชน

             - แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก

 

7.   เสรีภาพในการนับถือศาสนา

            ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา  นิกายศาสนา  ลัทธินิยมในทางศาสนา  การปฏิบัติตามศาสนาธรรม  ศาสนาบัญญัติ  พิธีกรรมความเชื่อ

 

8.  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

              บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 45"บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน" มาตรา 56 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ..."มาตรา 57 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ...และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว..." รวมถึงขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน อาทิ "บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก"

 

9.  เสรีภาพทางการศึกษา

             - การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก รัฐต้องให้การสนับสนุน ส่งเสริมการคุ้มครอง การจัดการศึกษาขององค์กรวิชาชีพ หรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต

             - เด็กและเยาวชนที่ไม่มีคนดูแล รัฐต้องเลี้ยงดู ให้การศึกษาอบรม

 

10.  สิทธิในทรัพย์สิน

                ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สิน การสืบทอดมรดก และการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะทำโดยพลการไม่ได้ และจะต้องได้รับการชดใช้ ค่าเสียหายจากการเวนคืนนั้น อย่างเป็นธรรม

               มาตรา 48   สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน ย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิ และการจำกัดสิทธิ เช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดก ย่อมเป็นไปตาม ที่กฎหมายบัญญัติ

               มาตรา 49   การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัย อำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่ง ทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตร หรืออุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

               การกำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคา ที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน

                กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ต้องระบุวัตถุประสงค์ แห่งการเวนคืน และกำหนด ระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ต้องคืนให้เจ้าของเดิม หรือทายาท

                 การคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้เจ้าของเดิม หรือทายาทตามวรรคสาม และการเรียกคืน ค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

 

11.   สิทธิในบริการสาธารณสุข            

               ทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการบริการ สาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาฟรี 

                                      

12.  สิทธิของคนพิการหรือทุพพลภาพ และของคนชรา

                มาตรา 55 ระบุว่า “ บุคคลซึ่งพิการ หรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็น

                 สาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ”มาตรา 80 ระบุว่า “ รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งตนเองได้ ”

 

13.   สิทธิของผู้บริโภค       

            ผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  หมายความว่าผู้ซื้อ หรือ ผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสิน่ค้าหรือรับบริการ รวมถึงผู้ใช้สินค้า หรือผู้ได้รับบริการจากผู้

ประกอบธุรกิจโดยชอบ ผู้บริโภคจึงมีความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจการตลาดของประเทศ นับได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางความสนใจของผู้ประกอบธุรกิจมากถึงขนาดว่า ผู้บริโภคคือ พระราชา แต่ในความหมายของตลาด ก็คือ คนซื้อ คนใช้บริการนั้นเอง ถึงแม้ว่า ผู้บริโภคจะมีความสำคัญมากขนาดไหนสำหรับผู้ประกอบการ แต่ก็ยังมิวายที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ขาดคุณธรรม  และความรับผิดชอบของผู้ประกอบการบางราย   

                       

 14.  สิทธิของชุมชนท้องถิ่น

              “สิทธิชุมชน”   เป็นอุดมการณ์ที่แนบแน่นกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนมาอย่างยาวนาน (ชลธิรา สัตยาวัฒนา,2546) จากการใช้ชีวิตร่วมกันของชาวชุมชนที่ต้องพึ่งพาอาศัย ร่วมทุกข์ร่วมสุข เกิดความเอื้ออาทรและผูกพัน ความขัดแย้งแตกแยกที่เกิดขึ้นจะผลักดันให้มีการคิดค้นหาวิธีการจัดการภายในให้ลุล่วงไป ความเป็นไปของชุมชนในลักษณะดังกล่าว พัฒนาให้เกิด “กฎเกณฑ์” ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เป็นข้อบัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวชุมชนยึดถือร่วมกัน แฝงอยู่ในวิถีชีวิตชุมชน เกิดการผลิตซ้ำ เกิดการพัฒนาเป็นแบบแผนที่แข็งแรง ข้อบัญญัติดังกล่าวของชุมชน เป็นข้อบัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ “ขอบเขตอำนาจ” ที่สมาชิกแต่ละคนแต่ละฐานะพึงมี พึงได้รับท่ามกลางการดำเนินชีวิตด้วยกัน อำนาจนั้นเป็นอำนาจที่ทุกคนยอมรับภายใต้ “คุณค่า ที่ยึดถือร่วมกัน” เป็นอำนาจที่มีความชอบธรรม ก็คือ “ระบบสิทธิ” ของชุมชนนั่นเอง

 

15.   เสรีภาพในการรวมกลุ่ม

                รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิของการรวมกลุ่มเป็นสองกรณี กรณีแรกคือ การรวมกลุ่มทั่วๆไป ซึ่งเป็นสิ่งที่จะกล่าวถึงในบทนี้ กรณีที่สองคือการรวมกลุ่มทาง การเมืองหรือพรรคการเมือง ซึ่งได้มีการกล่าวถึงแล้วในสิทธิมนุษยชนด้านการเมืองการ ปกครอง และเช่นเดียวกันกับในกรณีที่สิทธิการรวมกลุ่มในบางเรื่องอาจมีเนื้อหาคาบ เกี่ยวกับสิทธิการรวมกลุ่มเฉพาะเรื่องที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนเช่น ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้จะมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติการ แม่บทสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้านหรือตามกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อน กัน   

                                    

16.  สิทธิในการรับรู้และมีส่วนร่วม

             - มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ

             - มาตรา 57 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสีย สำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

               การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อ ส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ก่อนดำเนินการ

            - มาตรา 58 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน

 

17.   สิทธิในการร้องทุกข์และฟ้องคดี      

              - มาตรา 59 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณา ภายในเวลาอันรวดเร็ว

             - มาตรา 60 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้น การกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น

             - มาตรา 28 วรรค 3 บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและ เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมาย บัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิ ตามความในหมวดนี้

           - มาตรา 245 และมาตรา 257 สิทธิที่จะร้องทุกข์ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาหรือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

            - มาตรา 211 และมาตรา 212 สิทธิในการร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่ากฎหมายใดจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

            - มาตรา 223สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐไม่ชอบด้วยกฎหมาย                               

  18.  สิทธิและเสรีภาพอื่นๆ

bottom of page